วิทยาการคำนวณ วิชาสำหรับโลกยุคใหม่ ที่เด็กไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมากใช้เวลาอยู่หน้าสมาร์ทโฟน ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ย่อส่วน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ ตลอดเวลา แต่มักจะเป็นการใช้งานเชิงรับมากกว่าจะสร้างมันขึ้นมาหรือใช้ในเชิงรุก และข้อเท็จจริงนี้เองที่ทำให้บรรดาคนที่เห็นความสำคัญผลักดันเรื่องการเรียน Coding อย่างจริงจัง

 

นอกจากโรงเรียนกวดวิชาแล้ว ยังมีองค์กรไม่หวังผลกำไรอีกมากมายที่สอนการ Coding เว็บไซต์ไม่หวังผลกำไร Code.org ประกาศโครงการ Hour of Code ตั้งเป้าสอนนักเรียนชั้นประถม และมัธยมของสหรัฐ ให้เขียนโปรแกรมได้ 10 ล้านคนในช่วงเดือนธันวาคมนี้ Code.org ได้ บิลเกต และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก คนดังแห่งโลกเทคโนโลยี มาร่วมเป็นอาจารย์รับเชิญ แถมยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทไอทีดังๆ มากมาย สะท้อนถึงความต้องการของคนในแขวงความรู้นี้ การสอน Coding ทำกันไปถึงหลายประเทศยากจนทั่วโลก

 

เพราะคนเหล่านี้มองว่านี่เป็นหนึ่งในหนทางที่เด็กๆ จะได้มีทักษะเพื่อหลุดพ้นความยากจน ในอินเดียนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้ภาษา Coding สามารถสร้างรายได้เฉลี่ยถึงเดือนละกว่า 50,000 บาท มากกว่ารายได้เฉลี่ยในอินเดียถึง 3 เท่า ขณะที่ในสหรัฐอเมริกานักพัฒนาแอพพลิเคชั่นระดับกลางสามารถทำรายได้กว่า 10,000 ดอลล่าห์สหรัฐ หรือมากกว่า 33,000 บาท การปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์สื่อสารทำให้การเติบโตของการใช้ภาษา Coding ยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันเวลาของคนที่ใช้ในการท่องอินเตอร์เนท 63% อยู่กับการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ Smart Phone ในขณะที่การสร้างรายได้

 

ผู้ผลิตเกม โปเกม่อน โก รายงานว่า ปีที่แล้วเพียงแค่เกมเดียวสามารถทำรายได้ว่า 960 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ หรือ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้ในหลายประเทศการเขียน Coding จึงกลายเป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องเรียนเป็นวิชาบังคับแล้ว

 

ที่ประเทศไทย Coding คือวิชาบังคับพื้นฐานล่าสุดที่เด็กๆ ทุกคนต้องเรียนกัน ที่สหราชอาณาจักรแนะนำให้เด็กรู้จักกระบวนการคิดในทางคอมพิวเตอร์พื้นฐานของการ Coding ตั้งแต่อายุ 5-6 ปี ฟินแลนด์และเอสโตเนีย เด็กๆ ได้เรียน Coding กันตั้งแต่ชั้นประถม 1 เอสโตเนียนั้นก้าวหน้าไปถึงการบูรณาการ Coding เข้ากับวิชาอื่นๆ อย่างคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีกด้วย เกาหลีใต้มีการส่งเสริมให้เด็กทุกชั้นได้เรียน Coding ส่วนที่ฮ่องกงถึงแม้จะยังไม่มีการให้เป็นวิชาบังคับแต่ที่นี่ก็มีการแทรกตัวให้ Coding เป็นวิชาเลือกในโรงเรียน นอกห้องเรียนเด็กๆ หาเวลามาเรียนพิเศษกัน

 

เป้าหมายหลักของการสอน Coding ไม่ได้มุ่งหวังให้ทุกคนเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือปั้นคนให้เป็นเลิศทางวิชาการคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเรื่องของการคิดเป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบ เรียงลำดับการแก้ไขปัญหา มีหลักต่างๆ ให้นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา การบรรจุวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา คือการสอนให้มีทักษะในระดับหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดก็ได้รู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร มันทำอะไรได้บ้าง และเรียนรู้วิธีในการสั่งให้มันทำงานให้ การรู้จักและเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานในการต่อยอดไปสู่ความรู้เชิงลึกต่อไป ถ้าคุณชอบคุณก็สามารถเป็นเลิศในทางนี้ได้

 

การเรียน Coding คือการขยายพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กว้างออกไปมากกว่าการใช้ติดต่อสื่อสารการหาข้อมูลเพื่อส่องพฤติกรรม วิพากษ์วิจารณ์ผู้คนบนโซเชียลมีเดีย หรือเพื่อความบันเทิง กว้างออกไปเพื่อเป็นการสร้างสรรค์เทคโนโลยี รวมทั้งมีมุมมองว่ามันคือเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกประเภทหนึ่งไม่ใช่ภัยคุกคาม หรือตกเป็นทาสของมัน

 

ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ แต่โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้วอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั่วโลกกำลังจัดวางองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อรับมือกับอนาคตโลกยุคใหม่ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง

 

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook เคยกล่าวไว้ว่า อีก 10 ปีข้างหน้าเราจะสอน Coding ในโรงเรียนเหมือนกับการสอนให้เด็กอ่านและเขียนและเมื่อถึงเวลานั้นเราจะถามตัวเองว่า ทำไมเราไม่ทำมันให้เร็วกว่านี้

 

แหล่งอ้างอิง  https://www.aksorn.com/computational-science