วิทยาการคำนวณ 2563 (โค้ดดิ้ง) คืออะไร?
วิทยาการคำนวณ หรือ โค้ดดิ้ง ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมเท่านั้น แต่เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลให้เด็กรู้เท่าทันข่าวสาร และ สามารถใช้แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ให้คอมพิวเตอร์และมนุษย์เข้าใจร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้ สามารถเรียนแบบ Unplugged และ กิจกรรมที่ใช้สื่อที่ทำขึ้นเองได้
หลักสูตรการจัดการสอนยอดนิยม
ตัวอย่างหลักสูตรอบรมออนไลน์ครู การจัดการสอนวิทยาการคำนวณ ได้เกียรติบัตร ระดับประถม-มัธยม ที่ครอบคลุมมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๔๔๑
- หลักสูตรอบรม วิทยาการคำนวณ ออนไลน์ ระดับประถมศึกษา
- หลักสูตรอบรม วิทยาการคำนวณ ออนไลน์ มัธยมศึกษา
- เรียนโค้ดดิ้งจากกิจกรรมและสื่อที่น่าสนใจ ฟรี อุปกรณ์ BitGadget ส่งถึง
- เรียนโค้ดดิ้งจากบอร์ด Micro:bit เพื่อสร้าง Smart City
แนวคิดเชิงคำนวณประกอบด้วย
- การย่อยปัญหา (Decomposition)
- การนำระบบที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและการแก้ปัญหา
- การหารูปแบบ (Pattern recognition)
- การมองหารูปแบบของปัญหา ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ลักษณะที่มีร่วมกันนี้เรียกว่ารูปแบบ เราจะสามารถอธิบายลักษณะของปัญหาอื่นๆได้มีรูปแบบเดียวกัน
- การออกแบบขั้นตอนวิธี (Algorithm Design)
- การพัฒนาวิธีแก้ปัญหา โดยวางแผนให้กระบวนการทำงานตอบสนองในสิ่งที่ต้องการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ และ การประมวลผลระบบต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การคิดเชิงนามธรรม (Abstract thinking)
- การมองภาพรวมเพื่อมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และ ตัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อโฟกัสที่รูปแบบที่ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้เรียกว่าแบบจำลองหรือโมเดล (Model)
เพื่อกระตุ้นแนวคิดเชิงคำนวณในระดับที่นักเรียนประถมศึกษาเข้าใจได้ จึงได้มีการสร้างคำจำกัดความขึ้นใหม่ดังต่อไปนี้
- Tinkering (สร้างความชำนาญ) ฝึกทักษะผ่านการเล่น คล้ายเป็นการทดลองสิ่งใหม่ ฝึกความชำนาญด้วยการทำซ้ำ และทดลองทำวิธีการใหม่ๆ ในแต่ละสถานการณ์
- Collaborating (การทำงานร่วมกัน) ทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้เด็กๆมีส่วนร่วมในกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
- Creating (ความคิดสร้างสรรค์) เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดค้นต้นแบบ ออกแบบ คิดค้น หรือ ส้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากกว่าการฟัง สังเกตุ และลงมือทำตาม
- Debugging (สร้างวิธีแก้ไขจุดบกพร่อง) เรียนรู้แก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก
- Persevering (ความพยาม) เรียนรู้จักความอดทน ด้วยความท้าทายในกิจกรรมที่ซับซ้อนก็ไม่ยอมแพ้ และ พากเพียรในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนั้นๆ
วิทยาการคำนวณ (Coding) จัดอยู่ในรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ส่งผลให้ครูพัฒนาและออกแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และ ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีเป้าหมายพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเชิงคำนวณ อย่างเป็นขั้นตอน และสามารถค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนนำสารสนเทศมาใช้ในการแก้ปัญหา ให้สอดคล้องกับ หลักสูตรที่เป็นฐานสมรรถนะ (competency-based) ในศตวรรษที่ 21
ทักษะที่ได้ เมื่อเรียนวิทยาการคำนวณ
เพราะเมื่อเข้าสู่ยุคดิยิตอล จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กๆมีทักษะที่ดีพอจะไปทำงานด้านดิจิทัล เด็กๆจะต้องมีทักษะความรู้ด้านโลกสมัยใหม่ และมีกระบวนการความคิดทางด้านวิทยาการคำนวณ เพราะมีการคาดการณ์ว่าอีก 15 ปีข้างหน้าแรงงานจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเทคโนโลยีแทนนี่มนุษย์กว่าครึ่งนึงของตลาดแรงงาน เป้าหมายในการพัฒนาเด็กๆ มีดังต่อไปนี้
- มีทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และ เป็นระบบ
- มีทักษะในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา
- ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง
- ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อนตนเองและสังคม
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ